อย่างแรกในทุก ๆ ครั้งที่เราจะเริ่มเขียนหนังสือ เราจะมีคำถามขึ้นมาว่า อยากเขียนเริ่มจากอะไร เราสามารถตอบคำถามนี้ง่าย ๆ เลยว่าเราจะเริ่มขึ้นจากการอ่าน ซึ่งเป็นสิ่งที่ง่ายมากเพราะนักเขียนที่ดีนั้นจะต้องเป็นนักอ่านที่ดีด้วย แต่ว่าการเป็นนักอ่านที่ดีนั้นมันจะไม่สามารถทำให้เราเป็นมืออาชีพ หรือเชี่ยวชาญได้เลย ดังนั้นจึงมีหลาย ๆ แหล่งข้อมูลที่จะพูดถึงขั้นตอนง่าย ๆ ให้เราได้ฝึกปฏิบัติ เพื่อที่เราต้องทำเพื่อหนทางสู่การเป็นนักเขียนที่ดี
ขั้นตอนแรก การอ่านหนังสือเพื่อหาแรงจูงใจ สิ่งแรกที่เราต้องทำอาจจะต้องลองไปหานิยายที่ชอบมาอ่านสัก 10 เล่มแล้วลองถามใจตัวเองว่า ชอบอะไร อยากเขียนแนวไหน การอ่านนั้นให้เน้นเป็นการอ่านแบบหวังผล การอ่านหวังผลหรือพูดง่าย ๆ ว่าอ่านเพื่อหาประสบการณ์ พยายามให้เลือกหนังสือที่เราไม่เคยอ่าน และอ่านอย่างมีสติทำตัวให้เหมือนเป็นนักวิจารหนังสือ และให้คะแนนพร้อมจดเหตุผลของแต่ละคะแนนที่ให้ไป ขั้นตอนนี้จะสอนให้เราสามารถรู้ได้ว่าเนื้อหาแบบไหนที่เราไม่สมควรที่จะเขียน และนำวิธีเขียนมาประยุกต์ให้เราเขียนได้ดีกว่าเดิม
ขั้นตอนที่สอง คือการอ่านตามสำนักพิมพ์ อย่างแรกถ้าใครรู้แล้วว่าเราต้องการเขียนแบบไหนให้เราเจาะจงสำนักพิมพ์เลย ว่ามีสำนักพิมพ์ไหนบ้างที่มีหนังสือแนวที่เราต้องการจะเขียน ลองเอาหนังสือสำนักพิมพ์นั้น ๆ มาอ่านแบบคละนักเขียน มาจับประเด็นและเปรียบเทียบว่าแต่สำนักพิมพ์แตกต่างกันอย่างไร
เมื่อทำตามขั้นตอนทั้งสองเสร็จแล้วให้เราลองมาเขียนเองดู เพราะเราจะเขียนงานได้ง่ายขึ้น และเราจะสามารถค้นหาแนวทางและเทคนิคได้ด้วยตนเอง เริ่มแรกเราอาจจะกังวลบ้างแต่ถ้าหากเราได้ฝึกฝนและทำไปเรื่อย ๆ จะทำให้เราเกิดความชำนาญ และพัฒนาศักยภาพของตนเองจากการที่เราได้อ่านและซึมซับการเขียนของนักเขียนแต่ละคนที่เราได้ศึกษา แต่ถ้าหากเราไม่ได้เริ่มต้นลงมือเขียนตามแบบความเป็นตัวเอง เอาแต่อ่านและลอกเลียนแบบงานของคนอื่น มันก็จะเหมือนว่าเราเดินตามรอยคนอื่น การทำงานก็จะเป็นเส้นตรง ไม่มีความโดดเด่น งานที่ออกมาเหมือนคนอื่น เหมือนคู่แข่ง ไม่มีความน่าสนใจ ถ้าหากเราได้ลงมือทำเองเราจะค้นพบเอกลักษณ์ของตนเอง ซึ่งผลลัพธ์ที่ออกมาจะมีความเป็นตัวเองอยู่ในงานของเราเอง และข้อดีของการที่มีเอกลักษณ์เป็นตนเอง คนอ่านก็จะติดตามงานของเราไปเรื่อย ๆ ซึ่งคนอ่านจะจำได้ว่าเราคือใคร และจดจำงานของเราได้ทุกงาน