เว็ปรวบรวมผลงานของ Geraldine Evans
BOOK

เคล็ด (ไม่) ลับ ของการแต่งนิยายให้น่าสนใจ

Write-novel

การเขียนนิยายสมัยนี้ไม่ใช่เรื่องยากอีกต่อไปถ้าหากเรารู้หลักการในการสร้างผลงานให้น่าสนใจยิ่งขึ้น  เบื้องต้นของการเขียนนิยาย เราต้องรู้ว่าเราจะเขียนนิยายเรื่องนี้ไปในรูปแบบไหน  เช่น  แนวรัก  ดราม่า  โรคจิต  หรือบู๊ล้างผลาญ  นิยายก็คล้ายคลึงกับหนังหรือภาพยนต์ ต่างกันแค่สื่อสารออกมาทางตัวหนังสือเท่านั้น  วันนี้เราจะมาบอกเคล็ดลับที่ไม่ลับในการเขียนนิยายให้คนอ่านติดใจผลงานของเรา

 

ขั้นแรก เราควรคิดพล็อตเรื่องนิยายของเราไว้คร่าว ๆ  ก่อนว่าจะให้ออกมาเป็นรูปแบบไหนเพื่อที่ว่าเราจะได้เตรียมข้อมูลในการเขียนไว้

ขั้นที่สอง คิดตัวละคร  นิสัย  และลักษณะคำพูดหรือเอกลักษณ์ของตัวละครแต่ละตัว  เพื่อให้ดึงดูดผู้อ่านให้เข้าถึงอารมณ์ของตัวละครนั้น ๆ

ขั้นที่สาม ผู้เขียนต้องตั้งชื่อเรื่องให้สอดคล้องกับรูปแบบเรื่องที่สุด  ประมาณว่าพออ่านชื่อเรื่องแล้วสามารถรู้รูปแบบของเนื้อหาได้ เพื่อดึงดูดความสนใจ และรูปปกนิยายควรใช้รูปตัวละครหลักที่มีท่าทางบ่งบอกถึงนิสัยและอารมณ์ของแต่ละตัว

ขั้นที่สี่  ขั้นตอนนี้สำคัญมาก คือการเขียนเนื้อหา ผู้เขียนต้องมีจินตนาการทำเนื้อหาแต่ละตอนให้ดูรู้สึกว่าต้องติดตามต่อ หรืออาจจะตัดบทจบให้เนื้อหาค้างคาจนผู้อ่านต้องอ่านบทถัดไปทันที  ในเนื้อหาต้องมีจุดหักมุมแบบคาดไม่ถึง รูปแบบเนื้อหาไม่จำเจ  ต้องเขียนให้ผู้อ่านรู้สึกว่าเป็นตัวเอกในเรื่อง เวลาที่ผู้เขียนแต่งเนื้อหานั้นไม่จำเป็นต้องรีบร้อน ในเนื้อหาอาจจะมีบทที่ผู้เขียนทักทายกับคนอ่าน หรือแสดงอารมณ์กับตัวละครเพื่อเพิ่มอรรถรสในการอ่านมากขึ้น  ในเนื้อหาที่สำคัญเลยคือ ห้ามใช้คำหยาบ เพราะจะเป็นการไล่คนอ่านทางอ้อม ควรใช้คำที่สุภาพแต่สามารถสื่ออารมณ์ได้มากที่สุด ในเนื้อหาควรมีอะไรที่แปลกใหม่เพิ่มเข้าไป เช่น เนื้อเพลงดังในปัจจุบัน เพิ่มมุกเพื่อจะให้เนื้อหาไม่ดูอึดอัดและเครียดจนเกินไป และที่สำคัญที่สุดในการเขียนคือ ไม่ควรเขียนให้เนื้อเรื่องดูยืดยาวเกินพอดีจนดูยืดเยื้อ ไม่น่าอ่านต่อ

Write-a-novel

การที่เราจะเขียนนิยายสักเรื่อง  ก่อนที่เราจะลงมือเราอาจจะลองหาประสบการณ์โดยอ่านนิยายในรูปแบบที่เราชื่นชอบ   การเป็นนักอ่านจะสามารถพัฒนาให้เราเป็นนักเขียนที่ดีได้ อ่านแล้วทำความเข้าใจว่าการเขียนแบบไหนที่ทำให้เรารู้สึกตามไปด้วย  หรือจำว่าแบบไหนที่ไม่ควรนำมาเขียนในนิยายของเรา  นำสิ่งที่ดีไปประยุกต์ สังเกตสิ่งที่บกพร่องแล้วนำมาแก้ไข พัฒนาการเขียนให้ดีขึ้น เขียนนิยายออกมาให้เป็นเอกลักษณ์ของตนเอง และเป็นตนเองให้มากที่สุด